วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำหรับชีววิทยา


ชีวสารสนเทศ หรือไบโออินฟอร์เมติกส์ (bioinformatics) 



                   เป็น ศาสตร์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแขนงใหม่ ที่จะเป็นวิชาการแขนงหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตในศตวรรษที่ 21 ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านถึงกับกล่าวไว้ว่าศาสตร์แขนงชีววิทยาในยุคใหม่นี้ จะเปลี่ยนแปลงรูปโฉมจาก purely lab-based science ไปเป็น information science และแนวโน้มดังกล่าวก็เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในขณะนี้
ชี วสารสนเทศศาสตร์พัฒนามาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านจีโนม จีโนมิกส์ และโปรตีโอมิกส์ ประกอบกับพัฒนาการของวิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยว กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ พืช สัตว์ และมนุษย์

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน





       เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็น กําลังสําคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป บทบาทความสาคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทําให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอํานวยความ สะดวกสบายต่อการดําชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดํารงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทําให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทําให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็น จํานวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทําให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทาง เชื่อมโยงถึงกันทําให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา พัฒนาการของเทคโนโลยีทําให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกําเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทําให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกําเนินบนโลกประมาณ 500 ล้าน ปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี 

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู

       



     ครูใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 26.12 ส่วนวิชาที่รองลงมาที่ครูนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่วิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 14.61 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ในวิชาคอมพิวเตอร์มากกว่าวิชาอื่น ๆ ส่วนในรายวิชาอื่น ๆ ก็พอได้เรียนรู้บ้างแต่ไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้นคงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับดีพร้อมที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ



ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ      





 
        Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
         1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

ประวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ



      มนุษย์มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาภาษาพูด หรือการติดต่อโดยการใช้รหัสอื่นๆ เช่น มือ หรือท่าทางต่างๆ  คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ จนกระทั่งการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์และตัวอักษร นอกจากการพัฒนาการสื่อสารดังกล่าวแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากขึ้น การโยกย้ายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารทางไกล ด้วยความสามารถในการบันทึกข้อความหรือข่าวสารลงในกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้มนุษย์พัฒนาระบบไปรษณีย์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบริการในการติดต่อสื่อสารข่าวสารข้อมูลทางไกล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งข่าวสารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น