วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู

       



     ครูใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 26.12 ส่วนวิชาที่รองลงมาที่ครูนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่วิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 14.61 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ในวิชาคอมพิวเตอร์มากกว่าวิชาอื่น ๆ ส่วนในรายวิชาอื่น ๆ ก็พอได้เรียนรู้บ้างแต่ไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้นคงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับดีพร้อมที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ของครูรายการที่ครู ใช้มากได้แก่ ใช้พัฒนาทักษะวิชาชีพครู เตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน ค้นสารสนเทศ ทางการศึกษา และค้นคว้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รายการที่ครูไม่ได้ใช้เลย ได้แก่ สอนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการนำเสนองาน ใช้สื่อสารระหว่างนักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องและใช้ตรวจสอบผลงาน/ทำรายงานของนักเรียน แสดงให้เห็นว่าสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ครูจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครู มากกว่าการเตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน แสดงให้เห็นว่าครูใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตนเอง เช่นจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้กับตนเองมากกว่าที่จะค้นคว้าหาความรู้เพื่อเตรียมการสอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

  การใช้ ICT ในการเรียนและบูรณาการ


      คอมพิวเตอร์ ถือเป็นสื่อนวัตกรรมใหม่อย่างหนึ่ง เพิ่งแพร่หลายขึ้นมาประมาณ 40 ปี มานี้เอง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผล แสดงผล หรืองานอื่นใด ตามคำสั่ง ที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วมาก จนเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการนำเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ทุก ๆ วินาที สามารถรับรู้ความเป็นไปในทุกพื้นพิภพได้เกือบพร้อมกัน ทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก การรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วนำประโยชน์สู่ผู้ใช้ นำประโยชน์สู่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาล เช่น สามารถติดต่อค้าขายกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องพบหน้ากัน ไม่มีข้อจำกัดของเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน สามารถใช้ระบบ E - Commerce และใช้ในเรื่องการศึกษา การแสวงหาความรู้ การสื่อสาร รวมถึงกิจการอื่น ๆ มากมาย หากผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์เป็นอย่างคุ้มค่า 
หลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนที่มีความพร้อมเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนกันมากขึ้น โดยโรงเรียนดังกล่าวมักจะอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี ผู้ปกครองมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ช่วงแรกเริ่มใช้เพื่อการบริหารจัดการก่อน เรียกว่า Computer Assisted Management โปรแกรมนี้ช่วยจัดการด้านงานธุรการ เงินเดือน ห้องสมุด งานปกครอง และอื่น ๆ ระยะต่อมาคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า " CAI " หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเสนอเนื้อหา กระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ต้องการเรียนรู้ บทบาทของ CAI มีมากขึ้น ผลที่ได้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการ ตรงตามความประสงค์ เป็นการตอบสนองความเป็น Child Center ได้ประการหนึ่ง ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ 
ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ปกครองเกิดความตื่นตัว ต้องการที่จะให้บุตรหลานได้เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์มากขึ้น จนกลายเป็นกระแสของความทันสมัย โรงเรียนใดไม่สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้ปกครองจะย้ายเด็กไปเรียนโรงเรียนอื่นที่สอนคอมพิวเตอร์ เป้าหมายสำคัญที่นอกเหนือไปจากภาระงานปกติของโรงเรียน คือการจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน ผู้บริหาร คณะครู กรรมการสถานศึกษาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
             ว่า "เทคโนโลยี"(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนี้ 
1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางไกลโดยผ่านระบบการสื่อสารคมนาคมต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไม่มากนัก มักอยู่ในอาคารหลังเดียว เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์กระจายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ช่วยให้สำนักงานในจังหวัดติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงได้
4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดที่นำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สำนักงาน
เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมทางไกล
5. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยในการจัดการและบริหารงาน
6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในปัจจุบันนี้ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา วิทยุโรงเรียน โทรทัศน์เพื่อการศึกษา การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ระบบประชุมทางไกล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และประวัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาของไทยไว้ด้วย 


เเหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น